วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบการผลิตมะม่วงเชิงพาณิชย์แบบ 5 Ms : ล้มมะม่วงไปปลูกอะไรดีเอ่ย?


วันสำคัญ คือวันแม่ จะล่วงเลยพ้นไปก็ตามที แต่ความรัก ความเคารพ กตัญญูกตเวทีต่อผู้บังเกิดเกล้ายังคงตรึงตราสนิทแนบแน่นมิรู้เสื่อมคาย หลายช่วงหลายเวลาที่กว่าจะผ่านพ้นภัยทั้งหลายทั้งปวงจนเติบใหญ่เป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม “แม่” เป็นกรอบและแนวทางที่ยึดถือปฏิบัติ ยามใด พลังแห่งความรักอ่อนแอลง แรงแห่งความโหยหาเพิ่มทวีพูล ความทุกข์ยากมาเยี่ยมเยือน แม่อีกนั่นแหล่ะที่เป็นทั้งแรงพลักดัน เป็นทั้งกำลังใจและเป็นทั้งน้ำทิพย์ที่หล่อเลี้ยงหัวใจให้ชุ่มชื่นแข้มแข็ง ฝ่าฟันอุปสรรค์ทั้งหลายนานับประการ จนเติบใหญ่กลายเป็นคนดีของสังคมในทุกวันนี้...วันแม่จึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอันยิ่งใหญ่ของทุกคน ทุกวัน ทุกเวลา และทุกสถานที่ ไม่มีวันเสื่อมคลายจากหัวใจผู้เป็นลูกตลอดชั่วนิจนิรันดร์...
สัปดาห์กลางเดือนกรกฎาคม 2553 ผมได้รับเชิญจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งท่านเป็นเจ้าของไร่ใหญ่ ย่านอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ มีเนื้อที่การผลิตมากกว่าสองพันไร่ขึ้นไป ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มากกว่าแสนต้น ต้นขนาด 5 ปีพร้อมผลิดอกออกผลมากกว่าเจ็ดหมื่นต้น และประมาณสามหมื่นต้นที่อายุ 2-3 ปี คาดการณ์ว่าในอีกสามปีข้างหน้า ในจำนวนแสนกว่าต้นจะให้ผลผลิตได้เต็มที่ คาดการณ์ว่าน่าจะได้ราว ๆ สักสี่ห้าพันตันต่อปี ไม่มากไม่น้อยไปกว่านี้ ที่เหลือเป็นมะม่วงมะม่วงมหาชนกสักสามหมื่นต้น พันธุ์อื่น ๆ ไม่มากนักไว้พอประดับไร่ พื้นที่แห่งนี้กำลังถูกจัดการเชิงระบบ ระดมนักวิชาการ นักปฏิบัติการ เพื่อจัดการฟารม์ในเชิงพาณิชย์ ไร่นี้จะเป็นไร่ตัวอย่างของประเทศที่หลายคนกำลังแสวงหารูปแบบ (Model) ในการผลิตมะม่วง ให้บรรลุเป้าหมายในทุก ๆ ด้าน โดยมีหลักการจัดการที่สำคัญ อยู่ 5 ด้านใหญ่ๆ ด้วยกัน ผมให้ชื่อว่า 5 Ms คือ ด้านบริหารงานบุคคล(Man) ด้านบริหารการเงิน(Money) ด้านบริหารอุปรณ์เครื่องมือเครื่องใช้(Material) ด้านบริหารจัดการทั่วไป(Management) และสุดท้ายด้านบริหารตลาด(Marketing) การเยี่ยมชมครั้งนี้ในฐานะที่ผมได้รับเชิญ ให้ไปดูความก้าวหน้า และให้ข้อคิดเห็นในด้านต่าง ๆ และที่สำคัญ ความคิดเห็นและดูแลในด้านการตลาด ซึ่งกำลังออกแบบวางแผนให้สอดคล้องกับอีกสี่ด้านที่กล่าวมา ผมขอนำมาเล่าสู่กันฟังเผื่อว่าหลายท่านกำลังมองหา ว่าจะผลิตมะม่วงในเชิงพาณิชย์แบบไหนที่เป็นรูปแบบที่สามารถใช้ได้จริงและเหมาะสมเป็นไปได้กับแปลงผลิตของท่านที่มีอยู่
ด้านแรก คือ ด้านบริหารงานบุคคล (Man) ผมได้สนทนากับผู้ใหญ่ท่านนี้หลายครั้งและสรุปตรงกันว่า คนคืออุปสรรค์ที่สำคัญที่สุดในการดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุเป้าหมาย คนเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบกิจการให้เจริญรุ่งเรืองเติบโตและยั่งยืน และคนอีกนั่นแหล่ะครับ ที่ทำให้กิจการนั้นผ่านพ้นวิกฤตในแต่ละช่วง แต่ละครั้งไปได้ตลอดปลอดภัย เราไม่ได้พูดถึงแค่คนในการทำงานเท่านั้น แต่เราเริ่มต้นพูดถึง ผู้บริหารสูงสุดที่จะทำงานนั้น ๆ ยกตัวอย่างการทำสวนมะม่วงไม่ว่าขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มาเล่าให้ฟัง เจ้าของสวนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ หากเจ้าของสวนไม่มีความมุ่งมั่น ไม่มีความเพียร ไม่ขยันอดทน ไม่อดทนรอ รอจนประสบความสำเร็จ ไม่เรียนรู้ ไม่เข้าใจในงานที่ทำอย่างลึกซึ้ง ไม่มีความซื่อสัตย์ ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีเมตตา และไม่ให้อภัย(คือคุณธรรมของผู้บริหาร) คิดแค่เป็นเพียงงานอดิเรก ทำสนุก ๆ เพราะอยากจะพักผ่อน อยากมีสวนไว้อวดเพื่อนฝูง ไว้พักผ่อน อันนี้อย่าได้หวังคิดเลยที่จะประสบความสำเร็จในการทำเกษตรเชิงพาณิชย์ เพราะเนื้อหารายละเอียดของงานด้านการเกษตร เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน มีตัวแปรที่เป็นความเสี่ยงมากมาย ผู้ใหญ่ท่านนี้ปรารถให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า
“เรามีต้นมะม่วงหนึ่งแสนต้น ก็เหมือนเรามีลูกหนึ่งแสนคน! แต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน มีนิสัย อารมณ์ ความชอบ มีโรคภัยไม่เหมือนกัน กินอิ่มกินเต็มไม่เท่ากัน มีภูมิต้านทานต่างกัน สมบูรณ์ไม่เท่ากัน เครียดบ้าง สุขบ้าง แตกต่างกันไป เราต้องแยกแยะแบ่งกลุ่ม แยกวิธีการ ต้องใช้วิธีการหลายแบบหลายวิธี บางอย่างใช้วิธีการเดียวกันได้ บางอย่างต้องแยกใช้คนละวิธี บางครั้งต้องป้องกัน บางครั้งต้องช่วยเหลือ บางอย่างต้องรักษา และบางครั้งต้องช่วยเสริมเพิ่มเติมเต็ม เหล่านี้ต้องให้ความสนใจ ดูแล สังเกตุ มั่นตรวจตรา ตรวจสอบ อย่างตั้งใจ มิใช่นั่งโต๊ะอยู่กรุงเทพ แล้วสั่งการ ป่วยการทำเปล่า ๆ มีเท่าไรก็หมด สุดท้ายก็ปล่อยทิ้งรกร้างอย่างน่าเสียดาย”
รองสำรวจตัวเองว่า มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละในการดำเนินธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ท่านก็แสวงหาคนที่จะรับผิดชอบที่มีลักษณะคล้ายท่าน คำว่าแสวงหา คงไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด เพราะคนที่จะมีคุณสมบัติเหมือน ๆ กัน ยิ่งเป็นคุณสมบัติดีเลิศด้วยแล้ว มีจำนวนน้อยลง น้อยลง นี่จึงเป็นปัญหาสำคัญในการค้นหา แสวงหา สืบเสาะ เพื่อให้ได้คนเหล่านั้นมาร่วมงาน และเมื่อเราได้คนเหล่านั้นมา เขาเหล่านั้นจะทำหน้าที่แตกเหล่าแตกกอของคนดี กระจายออกไปเพื่อเสาะแสวงหาคนดีเพิ่มเติมในแต่ละระดับชั้นลงไป เราจะเริ่มได้คนที่มีรูปแบบ แนวทาง ลักษณะที่คล้ายคลึงกันเพิ่มมากขึ้น แต่ต้องใช้เวลา ที่พูดจะว่ายากจนทำไม่ได้ก็ไม่ใช่ เพราะในการเลือกคนนั้นย่อมมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง ถึงอย่างไร ยังดีกว่าเราไม่มีรูปแบบในการเสาะแสวงหาคนเอาเสียเลย!!
การทำเกษตรเชิงพาณิชย์ต้องอาศัยคนป็นแกนหลัก มากกว่ารูปแบบที่ตายตัวนำใครก็ได้มาใส่ลงไปในรูปแบบนั้นเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องอาศัยผสมผสานกัน เพราะเกษตรกรรมต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและประสบการณ์ บูรณาการกับความอดทน ขยันหมั่นเพียร ทุ่มเทเสียสละ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เมตตาแบ่งปันและให้อภัยเป็นพื้นฐาน ผู้บริหารสูงสุด หมายถึงเจ้าของ ผู้บริหารที่รับผิดชอบโครงการ หัวหน้าหน่วยงานนั้น และคนงานต้องมีแนวคิด แนวปฏิบัติ มีความเข้าใจในแนวทางเดียวกันอย่างลึกซึ้ง เรียกว่า ทำงานร่วมกันอย่างมีทัศนคติที่ดีต่องาน ต่อองค์กร ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพเหมือนครอบครัวเดียวกัน
ผมได้พบปะพูดคุยกับผู้ใหญ่ท่านนี้มานานกว่า 4 ปี พบว่าท่านมีลักษณะที่สำคัญอย่างที่ผมกล่าว ท่านแสวงหาคนที่มีลักษณะพิเศษ เพราะท่านเชื่อว่าไม่มีอะไรที่คนเราตั้งใจมุ่งมั่นที่จะทำแล้วทำไม่ได้ ท่านอาจจะไม่รอบรู้วิชาการด้านเกษตรมากที่สุดแต่ท่านพยายามเรียนรู้ และที่สำคัญท่านรู้จักเลือกใช้คนที่รู้จริง ทำจริง อดทน ขยัน หมั่นเพียร ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เมตตาและแบ่งปันมาร่วมทำงาน นี่คือหัวใจสำคัญของการบริหารงานบุคคล ที่ลำลึกและแยบยลที่สุดของผู้ใหญ่ท่านนี้
การทำมะม่วงเชิงพาณิชย์ หลายคนอาจจะเข้าใจ และหลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าการทำมะม่วงในเชิงพาณิชย์นั้นจำเป็นต้องบูรณาการเอาองค์ความรู้ในหลากหลายสาขาวิชามาหลอมรวมเป็นองค์ความรู้และเป็นเอกภาพผ่านการบริหารจัดการอย่างมีระบบ บางท่านมองว่าเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับผมและอีกหลายท่านมองว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการทำมะม่วง หรือไม้ผลเชิงพาณิชย์ เป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจ ความมุ่งมั่นความตั้งใจ ความละเอียดอ่อน ตลอดจนเป็นความปราณีตบรรจง ทั้งคนคิดวางแผน และคนปฏิบัติด้านเกษตรกรรม การที่จะหาคนที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเกษตรกรรมอย่างดื่มด่ำ เพราะเป็นงานที่นอกเหนือจากต้องมีความรู้ในทุก ๆ ด้านแล้ว ยังต้องรักเกษตรกรรม ขยัน อดทน ทนรอความสำเร็จ(หากไม่สำเร็จในปีนี้ก็ต้องรอในปีต่อ ๆ ไป) นี่เองจึงเป็นปัญหากับการแสวงหาคนที่จะมาดูแล และยิ่งมืออาชีพที่รับจ้างบริหารงานในลักษณะอย่างนี้ ยังไม่มีสถานศึกษาไหนเปิดการเรียนการสอน เมื่อรับสมัครคนมาทำงานก็มักจะได้คนที่รู้ไม่จริง รู้ไม่รอบลึก ไม่ขยัน ไม่ละเอียด ไม่อดทน การที่คนเราจะมีสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะต้องมีความรักความชอบเป็นทุนแล้ว ผลตอบแทนต้องสมน้ำสมเนื้อด้วย หลายคน หลายองค์กรตีค่าราคาอาชีพเกษตรกรต่ำ บางครั้งต่ำเกินไปกว่าวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา หรือเราแสดงความสามารถไม่สมกับราคาก็ไม่รู้...
เท่าที่ผมรู้จักกับเจ้าของสวนแห่งนี้มา ท่านพยายามหาคนที่มีคุณสมบัติอย่างที่กล่าวมา ดังนั้นในด้านบริหารจัดการแปลงปลูกและภาพรวม ท่านจึงได้เชิญ รศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่ง ฝ่ายไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตร เป็นผู้ออกแบบพัฒนาไปพร้อมกับเจ้าของสวน และทีมงาน อย่างลงตัวในที่สุด
วันนั้นผมได้มีโอกาสได้ร่วมสำรวจ และเห็นการเปลี่ยนแปลงจากเมื่อ 4 ปีก่อน หลังจากที่ “อาจารย์ฉลองชัย” ได้เข้ามาให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติการ เนื่องจากมีประสบการณ์ในด้านไม้ผลมานาน ประสบการณ์ที่ผมกล่าว เป็นประสบการณ์ที่ผ่านการบูรณาการทั้งวิชาการและปฏิบัติการ ไปพร้อม ๆ กัน ความสำคัญที่หลายคนพูด หลายคนทำ แตกต่างจากที่ “อาจารย์ฉลองชัย” ทำอย่างเห็นได้ชัด ด้านแรกที่เห็นถึงความแตกต่าง คือการแบ่งโซนออกเป็น 5 โซนเพื่อง่ายและสะดวกในการวางแผน ปฏิบัติการ และควบคุมอย่างเป็นระบบ ส่วนที่สอง การตัดแต่งกิ่งที่เริ่มโต และหลังการเก็บเกี่ยวอย่างมีระบบ ในส่วนที่เพิ่มเติม และเพิ่มใหม่โดยนำสายพันธ์ที่มีคุณภาพเข้ามาแทนที่ ส่วนที่สามรื้อถอนต้นที่เป็นสายพันธ์ต้นตอเก่าออกหมด เพื่อให้ได้ผลผลิตตามมาตรฐานสูงสุดของสายพันธ์ อย่างที่สี่การจัดการแปลงที่รกไปด้วยวัชพืช มีการวางแผนอย่างละเอียด ตั้งแต่ปรับแต่งแนวแปลงให้ง่ายต่อการใช้อุปกรณ์ต่างๆให้เหมาะสม และประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด อย่างที่ห้า การเดินสายท่อน้ำผ่านทุกต้นอย่างปราณีต เพราะตระหนักว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับไม้ผลอย่างมะม่วง และการวางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสมและเพียงพอ อย่างที่หก ด้านบริหารจัดการคน มีการฝึกอบรม และทำเอกสาร เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นระหว่างหัวหน้างาน คนงาน ผู้บริหาร มีการฝึกอบรมในด้านความรู้ความเข้าใจในด้านต่าง ๆ อย่างละเอียด อย่างที่เจ็ด การผสมผสานสูตรสำเร็จเข้ากับประสบการณ์ที่จะต้องเรียนรู้จากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงกันวันต่อวัน อย่างที่แปดการวางแผนด้านการเงิน ได้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนล่วงหน้ากับด้านการตลาด เพื่อกำหนดช่วงเวลาในการผลิต และให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการทางด้านการเงิน การพัฒนาจัดการแปลง และงานบุคคล ไปพร้อม ๆ กับการวางแผนการตลาดทั้งในระยะสั้น กลาง และระยะยาว
การบริหารการเงิน(Money) หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด อันนี้ผมว่าสำคัญพอ ๆ กัน เพราะเนื่องจากปัจจุบัน การทำธุรกิจการเกษตร ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปุ๋ย สารเคมี รวมทั้งเครื่องมือ เครื่องจักรกล เหล่านี้เมื่อจัดการเชิงพาณิชย์ การจัดหาต้องมีการวางแผนอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับการใช้ในแต่ละช่วงเวลา การต่อรอง ทั้งราคา และคุณภาพ ตลอดจนเงื่อนไขอื่น ๆ จึงถูกกำหนดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เงินจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลงทุน สินค้าเกษตรเป็นผลผลิตที่ต้องลงทุนก่อน ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เงินทุนสำรองต้องถูกวางแผนทุกระยะอย่างละเอียดรอบคอบ คนที่สามารถวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติการในงานนั้น ๆ มีความรู้ในด้านการเงินเป็นอย่างดี มิฉะนั้นจะเป็นเรื่องยาก เพราะการลงทุนด้านการเกษตร เป็นเรื่องที่ใช้ระยะเวลา รอผล มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องมากมาย และตัวแปรเหล่านั้น มีทั้งควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ แต่สามารถเฝ้าระวัง แก้ไขอย่างใกล้ชิดได้ตลอดเวลา
เงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ต้องมีอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ดังนั้น การทำเกษตรเชิงพานิชย์ บางครั้งโอกาสมีแต่เราไม่มีเงินทุนหมุนเวียน เราก็เสียโอกาสได้เช่นกัน หลายคนอาจจะคิดว่าทำเกษตรเชิงพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องมีเงินทุน ผมขอบอกเลยว่าทำไม่ได้ครับ มีน้อยยังทำไม่ได้เลย เพราะถ้ามีน้อยเราก็จะเข้าอีลอป ทำไปตามยะถากรรม รอ ฝน รอเทวดา ที่สุดได้ไม่คุ้มเสียครับ หรือมีมากจนเกินไป ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการทำงานเสียทุกเรื่อง ดังนั้นต้นทุนเราก็จะสูงกว่าคนอื่น เมื่อนำมาคำนวนต้นทุน ราคาขายเราจะสูงกว่าคนอื่น จะเกิดปัญหาขายไม่ได้ ที่สุดต้องลดราคา ขายต่ำกว่าทุน ดังนั้นการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผล จึงเป็นข้อที่ต้องระมัดระวังมาก หลายคนอาจจะสงสัยว่าใช้อย่างไร ใช้อย่างชาญฉลาด นั่นก็หมายความว่า มีการวางแผนในการใช้อย่างองค์รวม และเป็นระบบ ทบทวนศึกษาขั้นตอนกระบวนการใช้อย่างพิถีพิถัน คำนึงตลอดเวลาว่าเงินมีน้อย การใช้เงินแต่ละบาท แต่ละสตางค์ต้องคุ่มค่ากับการลงทุน เช่นบางท่านไม่รู้ว่าการใช้ปุ๋ย ใช้ยาที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร ถ้าใช้ถูกวิธีลดค่าใช้จ่ายไปได้เท่าไร ใช้ไม่ถูกวิธีเพิ่มเงินไปอีกเท่าไร การจ้างคน ถ้าจ้างคนที่มีประสบการ์แพงกว่า คนที่ไม่มีประสบการณ์ แต่เนื้องานที่ได้ และคุณภาพที่ได้ตอนสุดท้ายแตกต่างกัน เช่นการจ้างคนฉีดสารเคมี ที่มีประสบการณ์ แพงกว่า แต่ทำได้ดีกว่า ผลผลิตติดดอกออกผลได้ดีกว่า การห่อผลก็เช่นกัน จ้างคนงานที่มีประสบการณ์เรียกค่าแรงแพงกว่าคนที่ไม่มีประสบการณ์ แต่ผลผลิตที่ออกมาเป็นเกรด เอ หรือ บี มีความแตกต่างกันเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องคิดคำนวนอย่างเป็นระบบ และละเอียดถี่ถ้วน หากคิดเพียงลูกน้องรายงานว่าต้องการเงินเท่านั้นเท่านี้ ก็จ่ายอย่างเดียว ที่สุดหมดทุนหน้าตัก ฝักเงินเก่ามาทำไม่นานก็ไปไม่รอด
การบริหารอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้(Material) ต้องเพียงพอในการใช้งาน และสะดวกต่องานนั้น ๆ อย่าเอาของชนิดหนึ่งมาใช้กับอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้แล้วไม่สมารถทำได้ตามที่เราวางแผน วันก่อน ผมเห็นที่ไร่ดังกล่าวใช้รถฉีดสารเคมีค่าวัชพืช ผมเห็นแล้วก็อดชื่นชมไม่ได้ที่ทุกอย่างถูกออกแบบมาอย่างลงตัว นับตั้งแต่การทำคันดินขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้อุปกรณ์ การดัดแปลงอุปกรณ์ในการทำงานให้เหมาะสม ประหยัดลงตัวมาก นั่นก็หมายความว่าสิ่งเหล่านี้ถูกคิด และออกแบบด้วยนักวิชาการที่มีประสบการณ์อย่างละเอียด ปราณีตบรรจง จากที่เคยใช้คนจำนวนมากในการกำจัดวัชพืช เปลี่ยนมาใช้รถพ่นสารเคมีในการปราบวัชพื้ชแทน ทิ้งระยะเวลา 3 เดือน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้จำนวนมาก เป็นต้น
สารเคมี ปุ๋ย และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องถูกวางแผนการจัดซื้อย่างมีระบบ และมีการต่อรองจากบริษัทใหญ่ที่รับประกันทั้งคุณภาพ และราคา ขจัดเรื่องปัญหาปุ๋ยและสารเคมีปลอมหรือไม่ได้มาตรฐาน การสั่งซื้อเป็นลอท ๆ มีการวางแผนการใช้การสั่งซื้ออย่างเป็นระบบ เครื่องมือและอุปกรณ์ก็เช่นกัน มีการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบ ทำให้เครื่องมือเครื่องใช้มีอายุการใช้งานคุ้มค่ากับการลงทุน มีผู้รับผิดชอบในแต่ละชนิดโดยผู้ชำนาญในแต่ละเรื่องนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านการบริหารจัดการทั่วไป (Management) อันนี้ถือว่าสำคัญ หากมีการการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารระดับรองๆลงมาอย่างจริงจัง การค้นหาสภาพปัญหาที่แท้จริง เกิดจากการสอบถามจากผู้รู้ ทั้งด้านวิชาการ ประสบการณ์ และผู้ปฏิบัติงานจริง จะได้สภาพปัญหาที่แท้จริง นำสภาพปัญหาเหล่านั้นมาจัดหมวดหมู่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำปัญหานั้น ๆมาตั้งเป็นประเด็น และหาแนวทางในการแก้ไข กำหนดแนวทางในการจัดการอย่างชัดเจน มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบที่แบ่งเป็นส่วน ๆ อย่างชัดชัดเจนในการผลิตที่มีแปลงปลูกจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการแบ่งโซนในการผลิตอย่างชัดเจน มีหัวหน้าคุมแปลงแต่ละโซนอย่างชัดเจน ดูแลจัดการ ติดตาม เฝ้าระวังตามแผนที่วางไว้ มีการควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบซึ่งแยกแยะออกเป็นรายละเอียดย่อย ๆ เพื่อให้ผู้ติดตามสามารถกับกับดูแลให้เป็นไปตามแผนย่อย ๆ เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านการบริหารจัดการตลาด(Marketing) ผมมีโอกาสเข้ามาร่วมบริหารการตลาดอย่างเป็นระบบเชิงพาณิชย์ โดยเริ่มตั้งแต่ ตัวผลผลิตที่จะผลิต (มะม่วง ชนิด และสายพันธ์) วัตถุประสงค์ของการผลิต และตลาดที่จะขาย โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า จะผลิตมะม่วงที่เป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศ เพราะสามารถขายได้ราคาคุ้มค่ากับการลงทุน ช่วงเวลาในการผลิต ตั้งแต่กรกฎาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นจึงเลือกการเพิ่มสายพันธ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อทำตลาดต่างประเทศเป็นหลัก การเพิ่มสายพันธุ์แท้ที่มาจากต้นต่อพันธุ์แท้ ไม่มีการต่อยอดจากต้นตอสายพันธ์อื่น ที่มีอยู่ก็รื้อออกหมด
เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้สายพันธุ์แท้ตรงตามสายพันธ์ ไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น การปลูก และการเว้นระยะถูกจัดการใหม่โดยผู้ชำนาญการ เป็นทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติการ มากด้วยประสการณ์ในเรื่องมะม่วง ทุกอย่างถูกจัดสรรอย่างลงตัวเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องมือ อุปกรณ์สมัยใหม่ ตลอดจนการให้น้ำระบบสายที่ส่งตรงถึงทุกต้นในไร่ที่กว้างใหญ่ บ่อน้ำสำรองถูกคิดและวางไว้บนพิมพ์เขียว และดำเนินการอย่างชาญฉลาดของเจ้าของ และผู้เชี่ยวชาญ การตรวจสอบดินถูกทำอย่างละเอียดทุกแปลงที่ถูกแบ่งเป็นโซนอย่างเหมาะสม
การกำหนดการตัดแต่งกิ่ง การเร่งตาดอกถูกวางแผนร่วมกับการบริหารการตลาด ที่ต้องการให้เก็บเกี่ยวผลในช่วงเดือน พฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม (ในปีนี้) และในปีต่อไป จะเริ่มออกและเก็บเกี่ยวได้ในช่วง กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม จนถึงมกราคม และลดน้อยลง ในเดือน กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป ภายในหนึ่งรอบปี จะมีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ในระยะ 8 เดือน และพักต้น 4 เดือน นี่เป็นการวางแผนโดยเอาตลาดเป็นตัวตั้ง เพราะช่วงดังกล่าว ฝนชุก อากาศร้อน สร้างปัญหาในการสร้างตาดอกต่อเกษตรชาวสวนมะม่วง ผมได้เดินและปรารภกับอาจารย์ ถึงตาดอกที่ได้รับความเสียหายในช่วงเดือนกรฎาคม เพราะที่ผ่านมาร้อนจัด เพลี้ยเข้าทำลายตาดอก แต่ท่านก็เตรียมแผนสำรองเร่งตาดอกใหม่ให้เก็บเกี่ยวได้ในช่วง พฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม ซึ่งความต้องการของตลาดยังสูงอยู่(ทั้งตลาดภายใน และภายนอก) เพราะช่วงคริสมาส ช่วงปีใหม่ อีกทั้งตลาดเกาหลี และญี่ปุ่นเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เป็นช่วงที่เหมาะสม ในขณะที่ทั่วโลกอากาศเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ยุโรป แคนนาดา รัสเซีย มีความต้องการผลไม้จากเมืองไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ส่วนตลาด จีน สิงคโปร์ มาเลย เวียตนาม อินโดนิเซีย ยังคงรองรับมะม่วงเกรดรองได้อย่างไม่อั้น หลายต่อหลายสวนเริ่มทำให้ออกในช่วงนี้ ถึงปริมาณจะเริ่มเพิ่มขึ้น ราคาเริ่มลดลงบ้าง แต่ยังคงรักษาระดับกำไรในมาตรฐาน ในปีต่อ ๆ ไปอาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อธรรมชาติและอากาศเป็นใจ ในช่วงเดือนธันวาคม และมกราคม ปริมาณและราคาอาจจะเป็นอุปสรรคในการผลิตมะม่วงในอนาคตข้างหน้า ส่วนตลาดที่ต้องรองรับมะม่วงตกเกรด เราต้องเตรียมการณ์แปรรูปมะม่วงแช่แข็ง มะม่วงอบแห้ง และอื่น ๆ เพื่อรองรับปริมาณที่จะเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ซึ่งถ้ามีโอกาสผมจะนำมาเล่าให้ฟัง...
ถึงอย่างไร การผลิตมะม่วงเชิงพาณิชย์ในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง กุมภาพันธ์ ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ของเกษตรกร แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง ประเด็นแรก การแบ่งโซนที่ให้ผลผลิต กระจาย ไม่กระจุกตัว สามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างต่อเนื่อง ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ควรนำมาพัฒนาต่อยอดจัดทำแผนแม่บทร่วมกันอย่างจริงจัง ประเด็นที่สอง สายพันธ์ที่ควรส่งเสริมและพัฒนา ควรทำอย่างจริงจัง ให้ยังคงเป็นสายพันธ์ที่เป็นที่นิยม รูปทรงถูกต้อง รสชาติดี สีสรรทั้งภายนอกและภายใน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะถูกแซงจากสายพันธ์อื่นทั้งในและต่างประเทศในอนาคต ประเด็นที่สาม ขนาด ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึง เพราะต่อไปในอนาคต ความต้องการของมะม่วงแม้ว่าจะมีมากขึ้น แต่ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเรื่องของคุณภาพ รสชาต ผิวพรรณ รูปลักษณ์ ความปลอดภัย เพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลตรงต่อ ราคา และประเด็นที่สี่ราคาในอนาคตจะเป็นเครื่องชีวัดความสำเร็จที่สำคัญของการผลิตมะม่วงนอกฤดู หลายคนกำลังกระหยิ่มยิ้มย่องว่าตอนนี้โก่งราคาได้ตามใจชอบ แต่อย่าลืมนะครับว่า ผู้บริโภคคือผู้ตัดสินคนสุดท้าย ไม่ใช่ผู้ซื้อ ผู้รวบรวม หรือผู้ส่งออก ในท่ามกลางการแข่งขันจากผลผลิตนานาชนิดจากทั่วโลก การไม่เอาเปรียบผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อมคือความชอบธรรมที่ดีที่สุดที่จะมอบให้ผู้บริโภค เพื่อกลับมาซื้อซ้ำ(Repurchasing) และบอกต่อ (word of mouth) ทำให้เกิดความเติบโต มั่นคง และยั่งยืน อย่าเพลอมองผู้บริโภคคือ “หมูที่อยู่ในอวย” ที่สุดจะหาข้ออ้างให้ตัวเองว่า ของมีน้อย ผลิตยาก “ฉันจะขายแพง” ไม่ซื้อ... ขายคนอื่นก็ได้!!! และเมื่อถึงวันนั้น...วันที่ไม่มีใครเข้าไปซื้อเรา คำตอบที่ตามมาคือ “ล้มมะม่วงไปปลูกอะไรดีเอ่ย.......”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น